วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชนิดของอาหาร

ชนิดของอาหาร

อาหารไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อาหารคาว  อาหารหวาน  นอกจากนี้ยังมีอาหารว่างซึ่งเป็นอาหารคาวก็ได้ หรืออาหารหวานก็ได้ไว้รับประทานระหว่างแต่ละมื้อ
อาหารคาว
   อาหารคาวประกอบด้วยทุกรส ทั้งเค็ม หวาน เปรี้ยว และมีรสเผ็ดอีกรสหนึ่งตามปกติอาหารคาวที่รับประทานตามบ้านทั่วๆไปจะประกอบด้วย
1.แกง
แกงของไทยมีหลายชนิดได้แก่ แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงส้ม แกงจืด ต้มยำ ต้มโคลง ต้มส้ม
ซึ่งจะใส่เนื้อสัตว์ต่างๆตามลักษณะของแกง
2.ผัด
แยกได้เป็น 2 อย่าง คือผัดจืด และผดเผ็ด ผัดจะใช้ผักและเนื้อทุกชนิด
ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือซีอิ๊วขาว ส่วนผัดเผ็ดใช้เนื้อทุกชนิดกับผัดกับพริกสด หรือพริกแห้งซึ่งอาจจะนำเครื่องแกงมาผัดแห้ง เช่น พะแนงไก่ ปลาดุกผัดเผ็ด เป็นต้น
3.ยำ
เทียบได้กับสลัดผักของอาหารฝรั่งของยำจะเหมาะกับลิ้นของคนไทย คือ มีรสจัด ยำแบบไทยแยกได้เป็น2รส คื รสหวานและรสเปรี้ยว ยำที่มีรสหวานประกอบด้วย กะทิ มะพร้าวคั่ว เช่น ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี ส่วนยำที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ ยำใหญ่และที่ใช้เนื้อประกอบผัก
4.ทอด เผา หรือย่าง สำหรับเนื้อสัตว์จะปรุงรสและดับกลิ่นคาวด้วยรากผักชี กระเทียม พริกไทยและเกลือ เช่น กุ้งทอด หมูทอด ปลาทอด หรือจะเผา เช่น กุ้งเผา ไก่ย่าง เป็นต้น
5.เครื่องจิ้ม เป็นอาหารที่คนไทยชอบรับประทานมาก ได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกมะม่วง กะปิคั่ว แสร้งว่า ปลาร้าหลนและน้ำปลาหวาน เป็นต้น เครื่องจิ้มนี้จะรับประทานอาหารกับผัก ทั้งผักสดและผักสุก ผักสด ได้แก่ มะเขือ  แตงกวา ผักบุ้ง ขมิ้นขาว ผักสุก ได้แก่ หน่อไม้ลวก มะเขือยาวเผาหรือชุบไข่ทอด ชะอมทอด ถ้าต้องการให้อร่อยมากขึ้นก็จะรับประทานกับปลาทอด กุ้งเผาหรือกุ้งต้ม  
6.เครื่องเคียง
อาหารไทยจะมีเครื่องเคียงหรือเครื่องแนมประกอบเพื่อชูรสชาติยิ่งขึ้น เช่น แกงเผ็ด จะมีของเค็มเครื่องเคียง ได้แก่ ไข่เค็ม ปลาเค็ม หรือเนือเค็ม อาหารบางชนิดจะรับประทานกับผักดอง เช่นแตงกวาดอง ขิงดอง กระเทียมดอง เป็นต้น ผู้ปรุง หรือแม่ครัวจะต้องเลือกจัดให้เข้ากันตามลักษณะของอาหาร
อาหารหวาน
   อาหารหวานของไทยมีทั้งชนิดน้ำและแห้ง ส่วนมากปรุงด้วยกะทิ น้ำตาลและแป้งเป็นหลัก เช่น กล้วยบวชชี ขนมเปียกปูน ขนมใส่ไส้ (สอดไส้) ขนมเหนียว เป็นต้น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาวยุโรปได้ถ่ายทอดการทำขนมด้วยไข่ให้แก่คนไทยหลายอย่าง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยาและขนมหม้อแกง
   เมืองไทยมีผลไม้มากมายหลายชนิด จึงต้องหาวิธีเก็บรักษาผลไม้เหล่านั้นไว้รับประทานนานๆคนไทยมีวิธีถนอมอาหารไว้หลายวิธี ได้แก่ วิธีดอง เช่น มะม่วงดอง วิธีกวน เช่น กล้วยกวน เช่น วิธีตาก เช่น กล้วยตาก วิธีเชื่อม เช่น สาเกเชื่อม วิธีแช่อิ่ม  เช่น ฟักแช่อิ่ม เป็นต้น
      ขนมหวานชนิดแห้งรุบประทานได้ทุกเวลา ส่วนมากจะเป็นขนมอบเพื่อเก็บใส่ขวดโหลไว้ได้นาน เช่น ขนมกลีบลำดวน ขนมหน้านวล เป็นต้น
      ขนมไทยในโบราณจะแสดงฝีมือในการสลัก แกะ หรือปั้นเป็นรูปต่างๆ และจะอบให้หอมด้วยกลิ่นกุหลาบ มะลิ กระดังงา หรือควันเทียน 
อาหารว่าง
    อาหารว่างระหว่างอาหารแต่ละมื้อ ยังมีอาหารที่รับประทานแต่เล่น เรียกว่า อาหารว่าง อาจเป็นอาหารควาที่รับประทานกับน้ำชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆในตอนบ่าย ได้แก่ ขนมหวานใส่ไส้ ขนมเบื้อง กล้วยทอด เป็นต้น

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติอาหาร

ประวัติอาหารไท         
          อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ
ต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้น
และจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษโดยส่วนใหญ่อาหารไทย
จะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือน
ของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือนไม่ว่าจะเป็น
พริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอมตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหาร
จำพวกผัก และเนื้อสัตว์นานาชนิด เพราะมีวิธี
นำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น
แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน
การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหาร
ตั้งแต่ อดีต อาทิการนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบ
อาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย
เครื่องเทศ

หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิดอาหารไทยถือว่ามี
ีลักษณะพิเศษ   เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มีพิเศษ
ตามภูมิอากาศ  และภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปีรวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ใน
สายเลือดอยู่แล้ว    จึงแสดงออกซึ่งศิลปะวิทยาของคนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกิน
อาหารที่มีลักษณะเฉพาะ   ตั้งแต่เรื่องการผสมกลมกลืนในการปรุงแต่งรูป  รส  กลิ่น
ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการจัดรูปแบบและ

การแกะสลักการแกะสลัก
          การแกะสลัก  ตบแต่งสีสันสวยงามวิจิตรบรรจง
ในเรื่องการผสมสานทางคุณค่าอาหารและทางยา
เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพสูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน

การบำรุงและการรักษา  ตลอดจนการใช้อาหารเป็น
เครื่องแสดงความผูกพันในหมู่ญาติมิตรและเป็นเครื่อง
แสดงฐานะทางสังคมรวมทั้งการใช้อาหารเป็นสื่อ
ทางความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ

                                                     อาหารไทย

          เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหาร
แต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัวการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เหมือนกันผู้ประกอบอาหารไทยต้อง
ศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญ
และประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต
มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทานรสชาติของอาหารไทย
          การทำอาหารไทย    ผู้ประกอบอาหารจะทำให้ได้ผลดีต้องขึ้นอยู่ที่การฝึกฝนและ
รู้วิธีการทำอาหาร รู้จักดัดแปลงตกแต่งอาหารชนิดต่าง ๆ ให้สะดุดตาสะดุดใจ
ต่อผู้ได้พบเห็นทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะต้องติดใจ
ในรสชาติ และกลิ่นของอาหาร  การทำอาหาร ผู้ทำจึงควรหมั่นฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ
เพื่อให้มีประสบการณ์ต่ออาหารชนิดนั้นๆและเพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้เรื่องอาหาร
ประเทศไทยมีภูมิภาคท้องถิ่นที่แตกต่างกันมากมายทำให้สภาพความเป็นอยู่ของ
ประชาชนในแต่ละชุมชนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันโดยรวมถึงอาหารการกินด้วยอาหารของ
แต่ละภูมิภาคย่อมมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป

        ..............................อาหารไทยแท้กับอาหารไทยแปลง..........................
                    อาหารไทยแท้
          คืออาหารที่คนไทยทำกันมาแต่โบราณ ส่วนมากเป็นแบบง่ายๆ เช่น ข้าวแช่ ต้มโคล้ง แกงป่า น้ำพริก เป็นต้น และหลน
          ขนมไทยแท้ก็ปรุงมาจากแป้ง น้ำตาล กะทิเป็นส่วนใหญ่ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมเปียกอ่อน ตะโก้ ลอดช่อง เป็นต้น และถ้า
ใส่ไข่ ส่วนมากมักจะเป็นขนมไทยที่รับมาจาก
ชาติอื่น
ข้าวแช่
ต้มยำกุ้ง
อาหารไทยแปลง
          คืออาหารไทยที่แต่งแปลงมาจากเทศ หรือ
อาหารไทยที่รับมาจากต่างประเทศ บางชนิด
คนไทยคุ้นเคย จนไม่รู้สึกว่าเป็นของชาติอื่นเช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น ที่จริงนั้นดัดแปลงมาจาก
ของอินเดีย และแกงจืดต้มจืดทั้งหลายก็ดัดแปลงมา
จากอาหารจีน เป็นต้น         
         อาหารหวานหรือขนมหลายอย่าง ได้รับการ
ถ่ายทอดมาจากชาวยุโรปที่เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ทองหยิบ ทองหยอด
ทองโปร่ง ฝอยทอง และ สังขยาเป็นต้น